กันยายน 14, 2564

จากหนังสือ สู่การพัฒนาจิต

 

เราเป็นคนรักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก  ชอบอยู่ใกล้ๆหนังสือ ตอนสมัยยังเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยม จนมหาวิทยาลัย เวลาว่างจากการเข้าชั้นเรียน. หรือทานข้าวกลางวันเสร็จ มักจะเหลือเวลานิดหน่อยก่อนเข้าเรียนภาคบ่าย. เราก็จะเข้าห้องสมุด หาหนังสืออ่าน ราวว่า...อาหารสมองเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้พอๆกับอาหารที่ให้กับร่างกาย อะไรประมาณนั้นเลย



ตอนเรียนมหาวิทยาลัย. เพื่อนๆชอบชวนไปอ่านนิยายที่ห้องสมุด บอกพิกัดตู้หนังสือและพิกัดที่นั่งอ่านที่บรรยากาศดีที่สุดมาเสร็จสรรพ ว่านั่งโต๊ะริมระเบียงนะ ลมพัดจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาพอดี เย็นสบายชื่นใจ. เหมาะแก่การนอน...ฮ่าาา

เคยทำตามเพื่อนบอกอยู่ไม่กี่ครั้งเหมือนกัน. ไม่เคยลิ้มรสการได้หลับในห้องสมุด ว่ามันเป็นยังไง อยากรู้...เพราะเป็นคนไม่เคยหลับระหว่างการอ่านหนังสือ. สำหรับเราหนังสือทำให้ตื่นเต้นได้ตลอดเวลาไง  ผลที่ได้จากการพยายามทำตามเพื่อนบอก คือ มันก้องั้นๆนะ อาจจะอายบรรณารักษ์​ถ้าเค้ามาเจอ. หรือไม่ก้ออายนักศึกษาคนอื่นๆมากกว่า  เราว่า,ห้องสมุดไม่ใช่ที่นอน. ไม่ใช่ที่บ้าน

เดี๋ยวนี้ห้องสมุดเก่าน่าจะถูกปรับเลี่ยนไปใช้งานอย่างอื่นแล้ว.  ห้องสมุดใหม่ใหญ่โตกว่าเดิม ฝังเสาเข็มฐานรากลึกลงในในแม่น้ำเจ้าพระยากระมัง. เป็นตึกใหญ่โดดเด่นริมน้ำ  ติดเครื่องปรับอากาศทั้งตึก. มีหลายชั้น. คงจะเก็บหนังสือและความรู้ได้มากขึ้น. เราเคยไปเยี่ยมเยียนใช้บริการในฐานะศิษย์เก่าเมื่อหลายปีก่อน. ห้องสมุดดูทันสมัย โอ่อา. แต่ไม่มีส่วนที่เป็น outdoor อีกแล้ว. เสียดายจัง

เล่าไปไกล...ที่จริงเราไม่ค่อยจะได้อ่านนิยายมากเท่าไหร่. ส่วนใหญ่จะอ่านพวกหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคโบราณซะมาก.   หนังสือเกี่ยวกับศิลปะ ฯลฯ เพราะรูปสวย. ยิ่งหนังสือต่างประเทศ ภาพถ่ายที่ประกอบจะถ่ายมาอย่างดี. จะชอบมาก. ส่วนหนังสือนิยายจะตัวหนังสือเป็นพรืดดดด แถมหนา. สมัยเราหนังสือนิยายจะทำเป็น hard cover ซะหมด คือปกแข็ง. หนักมาก เวลายืมจากห้องสมุดเอากลับบ้านใส่กระเป๋าแล้วหนักจนเจ็บไหล่เลย

ที่น่าสนใจคือ เราไม่เคยเห็นภาพปกจริงๆของนิยายเหล่านั้นเลย เพราะเมื่อมาอยู่ในห้องสมุด. ปกที่เป็นกระดาษอ่อนจะถูกเก็บไปไว้ที่อื่น. สิ่งที่เราสัมผัสคือ ปกแข็งที่หุ้มด้วยผ้าสีเข้มๆ

เดี๋ยวนี้ไปเดินร้านหนังสือ จะเห็นว่านิยายทำเป็นปกอ่อนกันหมด. เหมือนว่าจะสามารถทำราคาได้ถูกลง คนซื้อจะได้ซื้อง่ายขึ้น.  ซึ่งก้อน่าจะเป็นอย่างนั้นแหละ. เราเห็นว่านิยายใหม่ๆออกมาเยอะมาก.  ทว่าเราอาจจะยังเป็นคน generation ดั้งเดิมที่จริตการอ่านยังคุ้นเคยอยู่กับวิถีการเล่าเรื่องแบบนักเขียนยุคโน้นมากกว่า. คือ....

เล่าเรื่องแบบอย่าหวือหวามาก. เราอาจจะไม่ชอบแนวตลก คอมเมดี้ แบบที่เค้าชอบเอามาทำละคร หรือภาพยนตร์. แบบที่นางร้ายกับนางเอกปะทะคารมกัน  บางทีกรี๊ดใส่กันเวลาโดนคำพูดเจ็บแสบ  เสียดสีกันแบบเชือดเฉือน หรือตบตีต่อหน้าพระเอก. แบบที่นางเอก นางร้ายมีตัวผู้ช่วย เช่น เพื่อนนางเอกหรือบ่าวไพร่แนวลูกขุนพลอยพยัก. คือว่า....มันเบื่อ. และไม่ได้ให้อะไรที่เป็นสาระ. และที่สำคัญ. เรื่องทำนองนี้ยังวนเวียนเอามาทำละคร ทำหนัง  อยู่อีกไม่รู้กี่เวอร์ชั่นจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นที่นิยมอยู่ (เราเลยหนีไปดู Series บน streaming platform แทน)

ได้ข่าวมาว่าคุณทมยันตี นักเขียนในยุคที่เราเติบโตมา ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงแล้ว. เราก็ใจหาย. 

นักเขียนในรุ่นๆ ที่มีชื่อเสียงสำหรับรุ่น gen เรากำลังโต. ก้อเช่น. ว.วินิจฉัยกุล,  กฤษณา อโศกสิน. เป็นต้น เรานั่งนับนิ้ว ท่านเหล่านี้ป่านนี้ก้อคงอายุมากขึ้นไปตามลำดับ.  

คุณสุเทพ วงศ์กำแหง นักร้องขวัญใจพ่อเรา ก้อเสียชีวิตไปแล้ว. กลายเป็นระดับตำนานไป. ค่อยๆปลิดปลิวตามกับไปทีละคน สองคน. ตามวันและเวลาที่ผันไปตามธรรมชาติ

ชีวิตเกษียณแต่ยังเยาว์ (Early retire) ของเราทำให้เรามีเวลา. ฮ่าาาา.เลยไปซื้อหานิยายคุณทมยันตีมาอ่านแบบ non-stop  เพราะที่ไม่อยากอ่านนิยายเป็นเพราะว่าอ่านแล้ว. ไม่จบ. ไม่หยุด. ....

พอๆกับนิสัยการดู Series ของเรา  ดูแบบยาวววววว สองวันสามคืนไม่เลิก ถ้าไม่หมดแรง

นิยายคุณทมยันตีที่เราชอบมากๆ มีหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง พิษสวาท ที่คุณนุ่นเล่นเป็นนางเอก ตอนนั้นดูแต่ละคร. แล้วค่อยย้อนมาอ่านหนังสือในภายหลัง.  

นิยายเรื่องนี้เอาเรื่องความรัก ความแค้น มาผูกโยงและเชื่อมต่อแบบเนียนๆไปกับแนวคิดเกี่ยวกับศาสนา เรื่องชาติก่อนชาติเก่า. เรื่องนรกสวรรค์ ประวัติศาสตร์  ปรุงรวมเรื่องรักๆใคร่ๆตามแบบปุถุชนกับเรื่องละเอียดอ่อนของพุทธศาสตร์ จนอร่อยและมีความคลาสสิคระดับตำนานสมกับเป็นงานของศิลปินแห่งชาติเลยจริงๆค่ะ

ความสนใจของเราวิวัฒน์ไปตามช่วงวัย... 

หลังจากชีวิตได้ผ่านประสบการณ์อะไรมากมาย. เรารู้แล้วว่า. มันก้อแค่นั้นหนอ. ชีวิต. ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง. หน้าที่การงาน. ความรัก. อาชีพของเรา มันไม่มีความยั่งยืน. เมื่อถึงเวลาของมัน. มันก้อสลายหายไปหมด ทำให้เราได้คิดถึงความเป็นจริงของชีวิตมากขึ้น  ดังนั้นนิยายที่เราอยากอ่าน. คงไม่ใช่แนวความรักอีกต่อไป


และคราวนี้เราเลยใช้ฝีมือในการประกอบภาพด้วย photoshop มาใช้ซะหน่อย. ด้วยการทำภาพประกอบ blog post อันนี้ขึ้นมาเอง. ขอขอบคุณภาพ elements จาก unsplash.com ด้วยนะคะ 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น