สิงหาคม 31, 2565

บางทีเราเห็นตัวเองจากการเห็นคนอื่นเหมือนกันนะ




เคยได้ยินมั้ยว่าคนเรามี "ตาใน" กับ "ตานอก"

แต่คนเรามักจะลืมใช้ "ตาใน" เพราะคุ้นเคยกับการใช้ "ตานอก" มากกว่า

คำว่า "ตาใน" ที่กำลังพูดถึงอยู่ หมายถึง ความคิดหรือสติสัมปชัญญะน่ะแหละค่ะ

วันนี้นึกเรื่องนี้ขึ้นมาได้และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่าน. เลยจะมาพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการมองตัวเองกันบ้าง

ส่วนมากการใช้ชีวิตของคนเราใช้ ตาเนื้อ หรือ ตานอก หรือ การใช้สายตา ถ้าเป็นทางธรรมมะก็จะบอกว่าเป็นการเห็นด้วยประสาทสัมผัส. ทำให้บางทีเราก็ไม่ค่อยจะได้มีเวลามานั่งสำรวจตัวเอง หรือมองตัวเองกันบ้างว่าตัวเราเองเป็นอย่างไร

ข้อเสีย ข้อบกพร่อง ของตัวเองบางทีเราก็ไม่ค่อยอยากจะรับรู้. 

แต่พอเราเห็นคนอื่นกำลังมีพฤติกรรมเดียวกันกับเรา. เราจะรับรู้ได้ทันทีว่า "เฮ้ย. เหมือนเราเลยว่ะ" หรือ "ถ้าเป็นเรา เราก็จะทำอย่างเดียวกันอย่างนั้นแหละ"

พอมาถึงจุดนี้ จิตจะสว่างแวบขึ้นมา. 

คือ. นั่นมันเหมือนตัวเราเลยเนอะ.  

เหมือนเอาจิตตัวเองไปส่องกระจกได้ยังไงยังงั้น. 

ปกติส่องกระจกกันใช่ป่าวคะ.  เราเห็นกันแต่ภายนอกเนอะ

แต่ส่องกระจกจิตด้านในนี่เราต้องหมั่นใคร่ครวญ ตรวจทานตัวเองเรื่อยๆเหมือนกันนะคะ. แหม...วันนี้เขียนออกแนวจิตวิทยาไปซะแล้วสิ

เห็นอะไรแล้วก็ต้องรีบวาง

หมายถึงว่า. ไม่เก็บไปเป็นอารมณ์. 

ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นคนคิดมากเกิน5555  หรือคนหมกมุ่น. ซึ่งก้อไม่ดีค่ะ

วันนี้มาฝากไว้แค่นี้ล่ะค่ะ คุณผู้อ่าน :)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น