วันนี้มาพร้อมกับวลีสุดเด็ด. คิดเอง แต่ว่าผู้อ่านจะว่าคมเหมือนกันหรือเปล่าคะ อิอิ
คิดมานานว่าจะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ คิดได้ตั้งแต่ก่อนลาออกจากงาน ทว่า...ยังไม่ทันได้ทำอย่างที่คิดสักเท่าไหร่ก้อต้องออกมาแล้วซะงั้น
พยายามบอกหลายคนที่มีโอกาสได้พูดคุยกัน. โดยเฉพาะคนที่อายุยังไม่มาก เพราะเห็นว่าคนอายุน้อยส่วนมากมุ่งคิดเรื่องการทำยังไงให้มีเงินเดือนเยอะๆ. หารายได้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งเราก้อเป็นแบบนั้นมาก่อนแล้วเหมือนกัน
มองย้อนกลับไป. คิดได้ว่า...เราหลงลืมอะไรไปบางอย่างหรือเปล่านะ
ตลอดชีวิตการทำงานที่ผ่านมา เฉลี่ยแล้วได้ขึ้นเงินเดือนทุกปี. มีปีเดียวที่ไม่ได้ขึ้นเลยคือตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งตอนนั้นเราก็ยังถือว่าเป็นเด็ก. กำลังผ่อนรถยนตร์คันแรกปีสุดท้าย งวดสุดท้ายพอดี มีลุ้นเรื่องจะโอนรถเป็นชื่อตัวเองได้อย่างไม่มีปัญหาใช่ไหม. และโดนลดเงินเดือนลงไปอีกด้วย
พอเวลาผ่านๆมาอีก เราก้อได้อัตราเงินเดือนเก่ากลับมา แต่ตอนนั้นเราเป็นคนไม่มีเงินเก็บ. ทั้งที่เงินเดือนเราเพิ่มขึ้นทุกปี แถมบริษัทมีโบนัสให้อีก.
ทำไมเงินเข้าเพิ่มขึ้นตลอด แต่ไม่มีเงินเหลือ
ชีวิตเพื่อนพนักงานอีกหลายคนที่เคยได้พูดคุยกันก้อเป็นเช่นนั้น
ในวันที่ได้รับหนังสือแจ้งปรับเงินเดือนประจำปี. เรารู้สึกว่าต่อไปนี้เราจะมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น และปีหน้าหรือปีต่อๆก็จะได้เพิ่มไปอีกเรื่อยๆ. เราจึงขยายมาตรฐานการใช้ชีวิตของเราไปตามส่วนที่เพิ่มของเงินเดือน
เคยใช้โทรศัพท์มือถือเครื่องเดิม. พอเห็นเพื่อนหรือคนอื่นใช้รุ่นที่ใหม่กว่าก้ออดไม่ได้ที่จะมีบ้าง. เห็นอยู่ว่าเรามีเงินเพิ่มขึ้นทุกเดือน. ซื้อไปเราก้อไม่จนลงหรอก เวลาเข้าประชุมแล้วหยิบมือถือออกมาวางบนโต๊ะก้อจะได้มีของใช้เหมือนๆกับของคนอื่น
รถที่มีก้อต้องเปลี่ยนทุก 4-5 ปี เพราะมีคนบอกว่าเลยห้าปีไปแล้วรถจะเสียบ่อยจนไม่คุ้มค่าซ่อม เปลี่ยนรถไปเลยดีกว่า. ขับไปแบบไร้กังวล ได้รถใหม่ เทคโนโลยีดีกว่าเดิม แต่ไม่เคยมีใครบอกว่าจุดคุ้มทุนของการใช้รถหนึ่งคันอยู่ที่ไหน (ทันทีที่ถอยรถใหม่ออกจากศูนย์บริการราคาขายต่อของรถก้อตกลงไปกว่าราคาตอนซื้อแล้ว!!)
ยามว่างก้ออยาก shopping เพราะทำงานมาเหนื่อย ต้องให้รางวัลกับตัวเองบ้าง. อยากได้อะไรก้อซื้อๆๆๆ เดี๋ยวเดือนหน้าเงินมาใหม่. สิ้นปีต้องได้โบนัส. คิดล่วงหน้าไว้เลยว่าอยากได้โน่น นี่ นั่น ฯลฯ
เฮ้อ.....นั่นหละนะ
ดังนั้นความยากที่ว่าทำงานยังไงให้เก่งจนได้เงินเดือนเยอะๆ....
ยังไม่เท่า...ใช้เงินยังไงให้เงินเหลือเก็บ
ได้มา แล้วใช้ไป เดือนหน้าเงินมาใหม่...ทำงานวนๆไป ไม่มีเวลาหยุดคิด. เพราะถึงวันหยุดก็อยากจะพักผ่อน ไม่ทันไรก็วันจันทร์อีกแล้ว วนกลับไปคิดเรื่องงานต่อ
สรุป...เป็นวงจรอย่างนี้อยู่นานหลายปี
จนกระทั่งวันหนึ่ง....
โชคดีที่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ. อ่านแหลกไปทุกด้าน (ค่าซื้อหนังสืออาจจะพอๆกับค่าอาหารนะ)
ได้อ่านหนังสือ "ออมก่อน รวยกว่า" (พิมพ์ครั้งที่ 1) เป็นหนังสือเปลี่ยนชีวิตจริงๆค่ะ
อ่านจบแล้วตกใจมาก...โดยเฉพาะหน้าที่พูดเรื่องคนเราควรมีเงินเกษียณเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ และภาพกราฟรายได้ที่หายด้วนไปซะงั้นเมื่อเราอายุ 60 ปี
แต่เส้นค่าใช้จ่ายพุ่งสวนเสียบทะลุฟ้า(โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ) หลังจากเราอายุเกิน 60 ไปแล้ว
มันทำให้เราตื่นจากฝัน. และมุ่งศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารเงินส่วนบุคคล. ไปหานักวางแผนทางการเงินเพื่อขอคำปรึกษา (ซึ่งตอนนั้นเป็นเรื่องใหม่มาก มีธนาคารกสิกรไทยแห่งเดียวที่ให้บริการฟรี)
ได้รับการตรวจสุขภาพทางการเงิน พร้อมรายงานผลการวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินอีกหนึ่งปึก
กลับมานั่งอ่านรายงานอย่างจริงจัง. มันทำให้ตาสว่างเลยทีเดียว.
เราควรต้องหันมาโฟกัสทางไหลออกของเงินด้วยนะคะ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้น
แต่ว่าเรื่องการ early retire นี่มันเป็นอุบัติเหตุชีวิต. ไม่มีในแผนนะคะ55555
กลับไปดูยอดเงินที่มีการ forecast เอาไว้ตอนนั้น. ว่าถ้าทำงานจนถึงอายุ 60 ปี จะมีเงิน xxxxxx. เปรียบเทียบกับยอดเงินที่มีตอนนี้แล้วห่อเหี่ยววววว มากถึงมากที่สุด
ปลอบใจตัวเองว่าตอนนี้เราใช้จ่ายลดลงไปมาก ไม่ต้องตั้งเป้ารายได้เท่าเดิมก้อได้นะ. ต้องปรับเป้าหมายใหม่ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
เครียดน้อยลง สุขภาพก็น่าจะดีกว่าเดิม. มีความสุขมากขึ้น แม้รายได้จะลดลง (เรียกว่าไม่มีรายได้เลยจะดีกว่ามั้ย555)
ตกลงว่าคนเราอยากได้เงิน หรืออยากได้ความสุข
เราเคยคิดว่าต้องมีเงินมากๆก่อนสิ ถึงจะมีความสุขได้. เพราะเอาเงินไปซื้อของที่อยากได้แล้วจะเกิดความสุข
ณ. วันนี้. ขอบอกว่า... ความสุขเราไม่ได้มาจากการ "ซื้อ" สิ่งที่เราไม่มี. แต่เรา "อยากจะมี" อีกต่อไปแล้ว
เรามีความสุขอยู่กับสิ่งที่เรา "มีอยู่แล้ว"
และไม่ใช่สิ่งของ.
แต่เป็น "ประสบการณ์" ที่เรากำลังได้ทำในสิ่งที่เรารักที่จะทำค่ะ :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น